Thursday, February 20, 2014




      



    แต่งเป็นร่ายยาว มีพระคาถาภาษาบาลีนำ และพรรณนาเนื้อความโดยมีพระคาถาสลับเป็นตอน ๆ ไปจนจบกัณฑ์ คำประพันธ์ประเภทร่ายยาว  หนึ่งบทจะมีกี่วรรคก็ได้  แต่ส่วนมากมี ๕ วรรคขึ้นไป  วรรคหนึ่ง ๆ มีตั้งแต่ ๖ คำขึ้นไป  ถึง ๑๐ คำหรือมากกว่า  มีบังคับเฉพาะระหว่างวรรค คือ คำสุดท้ายของวรรคจะส่งสัมผัสไปที่คำที่ ๑ ถึง ๕ ของวรรคต่อไป  เมื่อจบตอนมักมีคำสร้อย เช่น นั้นแล”  “นี้แล ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก เป็นร่ายยาวสำหรับเทศน์  จะมีคำศัพท์บาลีขึ้นก่อน  แล้วแปลเป็นภาษาไทย  แล้วจึงมีร่ายตาม  ในระหว่างการดำเนินเรื่องจะมีคำบาลีคั่นเป็นระยะ ๆ  คำบาลีนั้นมีความหมายเกี่ยวเนื่องกับข้อความที่ตามมา
               


      แผนผังร่ายยาว


      

        ตัวอย่าง





ประวัติผู้แต่ง


เจ้าพระยาพระคลัง (หน)





  เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นกวีเอกคนหนึ่งในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีนามเดิมว่า หน เกิดเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด น่าจะอยู่ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา และถึงแก่อสัญกรรม ในสมัยรัชกาลที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๔๘ ผลงานด้านวรรณคดีที่ท่านได้แต่งไว้หลายเรื่องด้วยกัน
            เจ้าพระยาพระคลัง เป็นบุตรเจ้าพระยาบดินทร์สุรินทร์ฦๅชัย (บุญมี) กับท่านผู้หญิงเจริญ มีบุตรธิดาหลายคน ที่มีชื่อเสียงคือ เจ้าจอมพุ่ม ในรัชกาลที่ ๒ เจ้าจอมมารดานิ่ม พระมารดาสมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร (มั่ง) ในรัชกาลที่ ๒ นายเกต และนายพัด ซึ่งเป็นกวีและครูพิณพาทย์ เป็นต้นสกุล บุญ-หลง




อานิสงส์





    ผู้ใดบูชากัณฑ์มัทรี จะได้อานิสงส์ดังนี้ เกิดในโลกหน้าจะเป็นผู้มั่งคั่ง สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ เป็นผู้มีอายุยืนยาว ทั้งประกอบด้วยรูปโฉมงดงามกว่าคนทั้งหลาย จะไปในที่ใด ๆ ก็จะมีแต่ความสุขทุกแห่งหน






จุดมุ่งหมายในการแต่ง


ร่ายยาวมหาเสสันดรชาดก  แต่งขึ้นเพื่อใช้เทศน์มหาชาติ  เนื่องจากร่ายยาวหมาเสสันดรชาดกเป็นชาดกเรื่องใหญ่ที่สุด  เป็นชาติที่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเสสันดรซึ่งเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ แล้วเสด็จออกผนวชกระทั่งได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  เป็นเรื่องราวในพระชาติที่เป็นพระเวสสันดรได้ทรงบำเพ็ญทศบารมี ครบทั้ง ๑๐ ประการ โดนเฉพาะอย่างยิ่ง ทานบารมี ซึ่งทรงบริจาคบุตรทารทาน  คือ บริจาคพระชาลี พระกัณหา และพระนางมัทรี  จึงเป็นชาติที่สำคัญและยิ่งใหญ่ เรียกว่า “มหาชาติ” หรือ “มหาเสสันดรชาดก”




เรื่องย่อ

        พระนางมัทรีฝันร้ายว่ามีบุรุษมาทำร้าย จึงขอให้พระเวสสันดรทำนายฝันให้ แต่พระนางก็ยังไม่สบายพระทัย ก่อนเข้าป่า พระนางฝากพระโอรสกับพระธิดากับพระเวสสันดรให้ช่วยดูแล  หลังจากนั้นพระนางมัทรีก็เสด็จเข้าป่าเพื่อหาผลไม้มาปรนนิบัติพระเวสสันดรและสองกุมาร  ขณะที่อยู่ในป่า พระนางพบว่าธรรมชาติผิดปกติไปจากที่เคยพบเห็น เช่นต้นไม้ที่เคยมีผลก็กลายเป็นต้นที่มีแต่ดอก  ต้นที่เคยมีกิ่งโน้มลงมาให้พอเก็บผลได้ง่าย ก็กลับกลายเป็นต้นตรงสูงเก็บผลไม่ถึง  ทั้งท้องฟ้าก็มืดมิด ขอบฟ้าเป็นสีเหลืองให้รู้สึกหวั่นหวาดเป็นอย่างยิ่ง  ไม้คานที่เคยหาบแสรกผลไม้ก็พลัดตกจากบ่า ไม้ตะขอที่ใช้เกี่ยวผลไม้พลัดหลุดจากมือ ยิ่งพาให้กังวลใจยิ่งขึ้นบรรดาเทพยดาทั้งหลายต่างพากันกังวลว่า  หากนางมัทรีกลับออกจากป่าเร็วและทราบเรื่องที่พระเวสสันดร ทรงบริจาคพระโอรสธิดาเป็นทาน  ก็จะต้องออกติดตามพระกุมารทั้งสองคืนจากชูชก  พระอินทร์จึงส่งเทพบริวาร  3  องค์ให้แปลงกายเป็นสัตว์ร้าย  3  ตัว  คือราชสีห์  เสือโคร่ง  และเสือเหลือง  ขวางทางไม่ให้เสด็จกลับอาศรมได้ตามเวลาปกติ เมื่อล่วงเวลาดึกแล้วจึงหลีกทางให้พระนางเสด็จกลับอาศรม   เมื่อพระนางเสด็จกลับถึงอาศรมไม่พบสองกุมารก็โศกเศร้าเสียพระทัย  เที่ยวตามหาและร้องไห้คร่ำครวญ  พระเวสสันดรทรงเห็นพระนางเศร้าโศก  จึงหาวิธีตัดความทุกข์โศกด้วยการแกล้งกล่าวหานางว่าคิดนอกใจคบหากับชายอื่น จึงกลับมาถึงอาศรมในเวลาดึก  เพราะทรงเกรงว่าถ้าบอกความจริงในขณะที่พระนางกำลังโศกเศร้าหนักและกำลังอ่อนล้า พระนางจะเป็นอันตรายได้  ในที่สุดพระนางมัทรีทรงคร่ำครวญหาลูกจนสิ้นสติไป  ครั้นเมื่อฟื้นขึ้น  พระเวสสันดรทรงเล่าความจริงว่า  พระองค์ได้ประทานกุมารทั้งสองแก่ชูชกไปแล้วด้วยเหตุผลที่จะทรงบำเพ็ญทานบารมี  พระนางมัทรีจึงทรงค่อยหายโศกเศร้าและทรงอนุโมทนาในการบำเพ็ญทานบารมีของพระเวสสันดรด้วย








คุณค่าที่ได้จากเรื่อง

 ๑.คุณค่าด้านวรรณศิลป์
            ๑.๑ ใช้ถ้อยคาไพเราะ มีการเล่นคา เล่นสัมผัสอักษร มีการใช้โวหารภาพพจน์ และการพรรณนาให้เกิดความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน รวมทั้งเกิดจินตภาพชัดเจน
            ๑.๒ เนื้อหาของกัณฑ์มัทรีแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครได้อย่างชัดเจน จะเห็นได้จากตอนที่เกิดเรื่องร้ายแก่พระนางมัทรีขณะที่หาผลาหารอยู่ในป่า

๒. คุณค่าด้านสังคม
            ๒.๑ สะท้อนให้เห็นค่านิยมแนวโลกุตตรธรรมของประชาชนว่า มีความปรารถนาจะบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ
            ๒.๒ เรื่องพระมหาเวสสันดรชาดก เป็นวรรณกรรมที่เกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงเป็นภาพสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียม และค่านิยมของคนในยุคนั้น ๆได้ดีว่า มีการซื้อขายบุคคลเป็นทาส นิยมการบริจาคทานเพื่อหวังบรรลุนิพพาน มีความเชื่อเรื่องลางบอกเหตุ เชื่อเรื่องอำนาจของเทพยดาฟ้าดินต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังแสดงภาพชีวิตในชนบทเกี่ยวกับการละเล่นและการเล่นซ่อนหาของเด็ก ๆ
            ๒.๓ ให้แง่คิดเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของผู้หญิงในฐานะที่เป็นแม่และเป็นภรรยาที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด
            ๒.๔ มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี สะท้อนแนวคิดสำคัญเกี่ยวกับความรักของแม่ที่มีต่อลูกอย่างสุดชีวิต
            ๒.๕ ข้อคิด คติธรรม ที่สามารถนาไปใช้ในชีวิตประจาวันของทุกคนได้ เกี่ยวกับการเป็นคู่สามีภรรยาที่ดี การเสียสละ เป็นคุณธรรมที่น่ายกย่อง และการบริจาคทาน เป็นการกระทาที่สมควรได้รับการอนุโมทนา




อ้างอิง

จิรวรรณ  อนุชาติ และคณะ. มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://jirawanjane.wordpress.comom/
                (สืบค้นวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557)
มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี. (ออนไลน์). สืบค้นจาก :  http://www.thaigoodview.com/node/87522 (สืบค้นวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557)
ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ตอนกัณฑ์มัทรี. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.trueplookpanya.com/true/blog_diary_detail.php?diary_id=1574                                            
                (สืบค้นวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557)
วิกีพีเดีย สารานุกรมเสรี. มหาเวสสันดรชาดก (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://th.wikipedia.org.html (สืบค้นวันที่ 20 กุมพาภัณฑ์ 2557)
เวสสันดรชาดก. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.dhammathai.org/chadok/legend10.php (สืบค้นวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557)



คณะผู้จัดทำ 


 นายศุภสิน      คงจรรักษ      เลขที่ 1    ชั้น ม.4/7
 นายเสริมศักดิ์   ทองวิจิตร      เลขที่ 11   ชั้น ม.4/7
 นายชนวีร์      เพชรประภัสสร  เลขที่ 12   ชั้น ม.4/7


โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา


เสนอ


คุณครู มนพร เหมานนท์